กานพลู
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygium aromaticum (L.) Merr.& L.M.Perry
ชื่อพ้อง : Caryophyllus aromatica L. ; Eugenia aromatica (L.) Baill; E.Caryophylla (Spreng.) Bullock et Harrison; E.caryophyllata Thunb. ชื่อสามัญ : Clove Tree วงศ์ : Myrtaceae ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 9-12 เมตร อาจสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดเป็นรูปกรวยคว่ำ แตกกิ่งต่ำ ลำต้นตั้งตรง เปลือกเรียบ สีเทา ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอก รูปรี หรือรูปไข่กลับแคบๆ กว้าง 8-11 ซม. ยาว 32-37 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนสอบแคบ ขอบเรียบ แผ่นใบด้านบนเป็นมัน มีต่อมน้ำมันมาก เส้นแขนงใบข้างละ 15-20 เส้น ปลายเส้นโค้งจรดกับเส้นถัดไปก่อนถึงขอบใบ ก้านใบยาว 1-2.5 ซม. ช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่น ออกที่ปลายยอด ยาวประมาณ 5 ซม. ก้านช่อดอกสั้นมาก แต่อาจยาวได้ถึง 1 ซม. ใบประดับรูปสามเหลี่ยม ยาว 2-3 มม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ โคนติดกันเป็นหลอดยาว 5-7 มม. เมื่อเป็นผลขยายออกเป็นรูปกรวยยาวประมาณ 1 ซม. ปลายแยกเป็นแฉกรูปไข่ ยาว 3-4 มม. กลีบดอก 4 กลีบ รูปขอบขนานหรือกลม ยาว 7-8 มม. มีต่อมมน้ำมันมาก ร่วงง่าย เกสรเพศผู้จำนวนมาก ร่วงง่าย ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 7 มม. ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 4 มม. ผล รูปไข่กลับกามรูปรี ยาว 2-2.5 ซม. แก่จัดสีแดง มี 1 เมล็ด กานพลูเป็นพรรณไม้พื้นเมืองของหมู่เกาะโมลุกกะ น้ำไปปลูกในเขตร้อนทั่วโลก ในปะเทศไทยนำมาปลูกบ้างแต่ไม่แพร่หลาย ชอบขึ้นในดินร่วนซุย การระบายน้ำดี ความชื้นสูง ฝนตกชุก ขึ้นได้ดีบนพื้นที่ราบถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเล 800-900 เมตร ส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น ใบ ดอกตูม ผล น้ำมันหอมระเหยกานพลุ สรรพคุณ :
เปลือกต้น - แก้ปวดท้อง แก้ลม คุมธาตุ
ใบ - แก้ปวดมวน
ดอกตูม - รับประทานขับลม ใช้แต่งกลิ่น ดอกกานพลูแห้ง ที่ยังไม่ได้สกัดเอาน้ำมันออก และมีกลิ่นหอมจัด มีน้ำมันหอมระเหยมาก รสเผ็ด ช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง และแน่นจุกเสียด แก้อุจจาระพิการ แก้โรคเหน็บชา แก้หืด แก้ไอ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้เลือดเสีย ขับน้ำคาวปลา แก้ลม แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้เสมหะเหนียว ขับผายลม ขับลมในลำไส้ แก้ท้องเสียในเด็ก แก้ปากเหม็น แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้รำมะนาด กับกลิ่นเหล้า แก้ปวดฟัน
ผล - ใช้เป็นเครื่องเทศ เป็นตัวช่วยให้มีกลิ่นหอม
น้ำมันหอมระเหยกานพลู - ใช้เป็นยาชาเฉพาะแห่ง แก้ปวดฟัน ฆ่าเชื้อทางทันตกรรม เป็นยาระงับการชักกระตุก ทำให้ผิวหนังชา
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
แก้อาการท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม และปวดท้อง ใช้ดอกกานพลูโตเต็มที่ ที่ยังตูมอยู่ 4-6 ดอก หรือ 0.25 กรัม ในผู้ใหญ่ - ใช้ทุบให้ช้ำ ชงน้ำดื่มครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว ในเด็ก - ใช้ 1 ดอก ทุบแล้วใส่ลงในขวดนม เด็กอ่อน - ใช้ 1 ดอก ทุบใส่ในกระติกน้ำที่ไว้ชงนม ช่วยไม่ให้เด็กท้องขึ้นท้องเฟ้อได้
ยาแก้ปวดฟัน ใช้นำมันจากการกลั่นดอกตูมของดอกกานพลู 4-5 หยด ใช้สำลีพันปลายไม้ จุ่มน้ำมันจิ้มในรูฟันที่ปวด จะทำให้อาการปวดทุเลา และใช้แก้โรครำมะนาดก็ได้ หรือใช้ทั้งดอกเคี้ยว แล้วอมไว้ตรงบริเวณที่ปวดฟันเพื่อระงับอาการปวด หรือใช้ ดอกกานพลูตำพอแหลกผสมกับเหล้าขาวเพียงเล็กน้อยพอแฉะใช้จิ้มหรืออุดฟันที่ปวด
ระงับกลิ่นปาก ใช้ดอกตูม 2-3 ดอก อมไว้ในปาก จะช่วยทำให้ระงับกลิ่นปากลงได้บ้าง
สารเคมี : Eugenol, Cinnamic aldehyde Vanillin น้ำมันหอมระเหย Caryophylla - 3(12)-6-dien-4-ol
ข่อย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Streblus asper Lour. ชื่อสามัญ : Siamese rough bush, Tooth brush tree วงศ์ : Moraceae ชื่ออื่น : ตองขะแหน่ (กาญจนบุรี) กักไม้ฝอย (ภาคเหนือ) ส้มพอ (เลย) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทึบ กิ่งก้านคดงอ เปลือกต้นบาง ขรุขระเล็กน้อย สีเทาอมเขียว มียางสีขาวข้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียน รูปรี กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก แผ่นใบสีเขียว สากมือ เนื้อใบหนาค่อนข้างกรอบ ดอก ออกเป็นช่อสั้นตามซอกใบ ดอกย่อยเล็กมาก ดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้รวมกันเป็นช่อกลม ก้านดอกสั้น ดอกเพศเมียช่อหนึ่งมีดอกย่อย 2 ดอก ก้านดอกยาว ผล รูปทรงกลม ผลมีเนื้อ ผนังผลชั้นในแข็ง เมื่ออ่อนสีเขียว สุกเป็นสีเหลืองใส เมล็ดเดี่ยว แข็ง กลม ส่วนที่ใช้ : กิ่งสด เปลือก เปลือกต้น เมล็ด ราก ใบ สรรพคุณ :
กิ่งสด - ทำให้ฟันทน ไม่ปวดฟัน ฟันแข็งแรง ไม่ผุ
เปลือก - แก้บิด แก้ท้องเสีย แก้ไข้ ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์
เปลือกต้น - แก้ริดสีดวงจมูก
เมล็ด - ฆ่าเชื้อในช่องปาก และทางเดินอาหาร - เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงธาตุ ขับลมในลำไส้
รากเปลือก - เป็นยาบำรุงหัวใจ
วิธีและปริมาณที่ใช้ใช้ :
ทำให้ฟันทน ไม่ปวดฟัน ใช้กิ่งสด 5-6 นิ้วฟุต หั่นต้มใส่เกลือเคี่ยวให้งวด เหลือน้ำครึ่งเดียว อมเช้า-เย็น
แก้บิด แก้ท้องเสีย แก้ไข้ ใช้เปลือกต้มกับน้ำรับประทาน
แก้ริดสีดวงจมูก ใช้เปลือกต้นมวนสูบ
ฆ่าเชื้อโรคในช่องปาก และทางเดินอาหาร เป็นยาอายุวัฒนะ โดยใช้เมล็ด รับประทาน และต้มน้ำอมบ้วนปาก
บรรเทาอาการปวดของมดลูกระหว่างมีประจำเดือน นำใบมาคั่วให้แห้ง ชงน้ำรับประทาน
สารเคมี :
ผล จะมีน้ำมันระเหย 1-1.4% ไขมัน 26% และในน้ำมันนี้จะประกอบด้วยสารพวก เทอปีน (terpenes) อยู่หลายชนิด และพวกเจอรานิออล (geranilo) พวกแอลกอฮอล์การบูน (camphor) ฯลฯ และนอกจากนี้ยังมีน้ำตาลอ้อย (sucrose) น้ำตาลผลไม้ (fructose) น้ำกลูโคส
ทั้งต้น มีสารพวก ลินาโลออล (linalool โนนานาล (nonanal) ดีคาลนาล (decanal) และวิตามินซี 92-98 มก.%
เมล็ด จะมีสารประกอบพวกไนโตรเจน 13-15% และสารอนินทรีย์ 7% มีน้ำมันระเหย 1% ซึ่งมีสารส่วนใหญ่ในน้ำมันระเหยนั้นเป็น d-linalool ประมาณ 70%
ดาวเรือง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tagetes erecta L. ชื่อสามัญ : African Marigold วงศ์ : Asteraceae ชื่ออื่น : คำปู้จู้หลวง (ภาคเหนือ) พอทู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 15-60 ซม. ลำต้นเป็นร่อง สีเขียว แตกกิ่งก้านที่โคน ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ออกเรียงตรงกันข้าม ใบย่อยมี 11-17 ใบ รูปรี กว้าง 0.5-1.5 ซม. ยาว 1.5- 5 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบจักเป็นซี่ฟัน แผ่นใบสีเขียว เนื้อใบนิ่ม ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกสีเหลืองเข้ม ริ้วประดับสีเขียว เชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง หุ้มโคนช่อดอก ดอกแบ่งออกเป็น 2 วง คือ ดอกวงนอก เป็นรูปลิ้น บานแผ่ออกปลายม้วนลง เป็นดอกไม่สมบูรณ์ ดอกวงในเป็นเหลอดเล็กอยู่ตรงกลาง ช่อดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ก้านช่อดอกยาว ผล เป็นผลแห้งไม่แตก สีดำ ดอกแห้งติดกับผล ส่วนที่ใช้ : ใบ และช่อดอก เก็บตอนฤดูร้อน และฤดูหนาว ตากแห้งเก็บไว้ใช้ หรืออาจใช้สด สรรพคุณ :
ใบ - รสชุ่มเย็น มีกลิ่นฉุน ใช้แก้ฝีฝักบัว ฝีพุพอง เด็กเป็นตานขโมย ตุ่มมีหนอง บวมอักเสบโดยไม่รู้สาเหตุ
ช่อดอก - รสขม ฉุนเล็กน้อย ใช้กล่อมตับ ขับร้อน ละลายเสมหะ แก้เวียนศีรษะ ตาเจ็บ ไอหวัด ไอกรน หลอดลมอักเสบ เต้านมอักเสบ คามทูม เรียกเนื้อ ทำให้แผลหายเร็วขึ้น และแก้ปวดฟัน
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ช่อดอก ใช้ภายใน - ใช้ช่อดอก 3- 10 กรัม ต้มน้ำดื่ม ใช้ภายนอก - ช่อดอกต้มเอาน้ำชะล้างบริเวณที่เป็น
ใบ ใช้ภายใน - ใช้ใบแห้ง 5- 10 กรัม ต้มน้ำดื่ม ใช้ภายนอก - ใช้ใบตำพอก หรือต้มเอาน้ำชะล้างบริเวณที่เป็น
ผักชี
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coriandrum sativum L. ชื่อสามัญ : Coriander วงศ์ : Umbelliferae ชื่ออื่น : ผักหอม (นครพนม) ผักหอมน้อย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ผักหอมป้อม ผักหอมผอม (ภาคเหนือ) ยำแย้ (กระบี่) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นตั้งตรง ภายในจะกลวง และมีกิ่งก้านที่เล็ก ไม่มีขน มีรากแก้วสั้น แต่รากฝอยจะมีมาก ซึ่งลำต้นนี้จะสูงประมาณ 8-15 นิ้ว ลำต้นสีเขียวแต่ถ้าแก่จัดจะออกเสียเขียวอมน้ำตาล ใบ ลักษณะการออกของใบจะเรียงคล้ายขนนก แต่อยู่ในรูปทรงพัด ซึ่งใบที่โคนต้นนั้นจะมีขนาดใหญ่กว่าที่ปลายต้น เพราะส่วนมากที่ปลายต้นใบจะเป็นเส้นฝอย มีสีเขียวสด ดอก ออกเป็นช่อ ตรงส่วนยอดของต้น ดอกนั้นมีขนาดเล็ก มีอยู่ 5 กลีบสีขาวหรือชมพูอ่อนๆ ผล จะติดผลในฤดูหนาว ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมโตประมาณ 3-5 มิลลิเมตร ตรงปลายผลจะแยกออกเป็น 2 แฉก ตาวผิวจะมีเส้นคลื่นอยู่ 10 เส้น ส่วนที่ใช้ : ผล เมล็ด ต้นสด สรรพคุณ :
ผล - แก้บิด ถ่ายเป็นเลือด ถ่ายเป็นมูก แก้ริดสีดวงทวาร มีเลือดออก แก้ท้องอืดเฟ้อ
เมล็ด - แก้ปวดฟัน ปากเจ็บ
ต้นสด - ช่วยให้ผื่นหัดออกเร็วขึ้น แก้เด็กเป็นผื่นแดงไฟลามทุ่ง
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
แก้บิดถ่ายเป็นเลือด ใช้ผล 1 ถ้วยชา ตำผสมน้ำตาลทราย ผสมน้ำดื่ม
แก้บิด ถ่ายเป็นมูก ใช้น้ำจากผลสดอุ่น ผสมเหล้าดื่ม
แก้ริดสีดวงทวาร มีเลือดออก - ใช้ผลสดบดให้แตก ผสมเหล้าดื่มวันละ 5 ครั้ง - ใช้ต้นสด 120 กรัม ใส่นม 2 แก้ว ผสมน้ำตาล ดื่ม
แก้ท้องอืดเฟ้อ ใช้ผล 2 ช้อนชา ต้มน้ำดื่ม
แก้เด็กเป็นผื่นแดงไฟลามทุ่ง ช่วยให้ผื่นหัดออกเร็วขึ้น ใช้ต้นสด หั่นเป็นฝอย ใส่เหล้าต้มให้เดือด ใช้ทา
แก้ปวดฟัน ปากเจ็บ ใช้เมล็ดต้มน้ำ ใช้อมบ้วนปากบ่อยๆ
แก้ว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Murraya paniculata Jack. วงศ์ : RUTACEAE ชื่อท้องถิ่น : แก้มขาว (ภาคกลาง) ตะไหลแก้ว แก้ว พริก จ๊าพริก (ภาคเหนือ) แก้วขี้ไก่ (ยะลา) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้นแก้วเป็นไม้พุ่มถึงไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขาเป็นพุ่ม เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเหลืองอ่อนติดกับลำต้นแบบสลับกันแต่ละใบ ประกอบด้วย ใบย่อย 3-5 ใบ มีรูปคล้ายรูปไข่ค่อนข้างยาว ใบมีกลิ่นหอมเมื่อส่องดูกับแสงสว่างจะเห็นจุดต่อมน้ำมันบนใบ ใบมีสีเขียวเข้มและเป็นมัน ดอกมีสีขาวกลิ่นหอม ออกเป็นช่อ ผลค่อนข้างกลม เมื่อสุกเป็นสีแดงหรือส้มแก่
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบสด รสและสรรพคุณ ในตำรายาไทยมิได้ระบุรสของใบแก้ว เมื่อขยี้ใบแก้วดมจะมีกลิ่นหอม ใบแก้วใช้ปรุงเป็นยาขับระดู และยาแก้จุกเสียด แน่นท้อง ขับลม บำรุงธาตุ การเตรียมยาสมุนไพรอย่างง่ายและวิธีใช้ ใบแก้วใช้รักษาอาการปวดฟัน โดยนำใบสดตำพอแหลกแช่เหล้าโรงในอัตราส่วน 15 ใบย่อย หรือ 1 กรัมต่อเหล้าโรง 1 ช้อนชา หรือ 5 มิลลิลิตร และนำเอายาที่ได้มาทาบริเวณที่ปวด
คงรู้แล้วสินะคะ ว่าสมุนไพรไทยเราเนี่ย สรรพคุณมากมาย จริงๆ ฉะนั้น หันมาศึกษา เรื่องสมุนไพรไทยด้วยกันเถอะค่ะ หรือถ้าอยากรู้เรื่องอื่นเพิ่ม ก็บอกมาได้นะคะ จะได้รวบรวมข้อมูลให้ค่ะ
|